นำเสนอข้อค้นพบจากการสำรวจวิจัย: การรับรู้ของผู้ผลิตไข่ไก่เกี่ยวกับการดำเนินการและบำรุงรักษาระบบการเลี้ยงไก่แบบไม่ขังกรง (เคจฟรี) ในประเทศจีน ไทย มาเลเซีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

February 9th, 2022

training-centre-flock

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ เราจะจัดการสัมมนาออนไลน์ (click ลิงก์ค์นี้ to register) to present the findings of our recently-conducted survey: Egg producers’ perspectives on the adoption and maintenance of cage-free systems in China, Thailand, Malaysia, Japan, Indonesia, and the Philippines. The research, funded by the Tiny Beam Fund and led by our Science and Extension team, was conducted together with academic collaborators from Edinburgh University (China-based collaborator), the University of Queensland (Australia), Harvard Law School (USA), Tokai University (Japan), Universiti Putra Malaysia (Malaysia), Chulalongkorn University (Thailand), Universitas Gadjah Mada (Indonesia), IPB University, Indonesia (Indonesia) and the University of the Philippines Los Baños (Philippines). Over 200 egg producers (cage and cage-free) participated in this survey.

เนื่องจากผู้ผลิตทั่วเอเชียจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่ประสงค์จะสนองตอบความต้องการไข่ไก่ที่มาจากการเลี้ยงไก่แบบไม่ขังกรง (เคจฟรี) ที่เพิ่มมากขึ้น การวิจัยนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินความท้าทายหลักและความต้องการของผู้ผลิตในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ฟาร์มเลี้ยงไก่แบบไม่ขังกรงและบำรุงรักษาให้ประสบความสำเร็จ ด้วยวิธีนี้จึงจะช่วยให้มั่นใจได้ว่ามีการปรับเปลี่ยนไปใช้งานในท้องถิ่นอย่างเหมาะสม รวมทั้งเป็นการสนับสนุนที่ตอบสนองต่ออุตสาหกรรมอย่างแท้จริง

ในการสัมมนาออนไลน์ที่จัดขึ้นนี้ ดร. เคท ฮาร์ทเชอร์ นักวิทยาศาสตร์อาวุโสด้านสัตว์ของโกลบอลฟู๊ดพาร์ทเนอร์ส (Global Food Partners) จะนำเสนอระเบียบวิธีการสำรวจและข้อค้นพบ รวมถึงการรับรู้ของผู้ผลิตในหัวข้อต่อไปนี้

  • เหตุผลในการใช้ระบบการเลี้ยงไก่แบบไม่ขังกรง (เคจฟรี) แทนระบบการใช้กรงแบบเดิม
  • ความเป็นไปได้ของระบบการเลี้ยงไก่แบบไม่ขังกรง (เคจฟรี) ในประเทศของตนเอง
  • เหตุผลที่เกษตรกรเปลี่ยนจากการเลี้ยงไก่แบบใช้กรง (เดิม) มาเลี้ยงแบบไม่ขังกรง (เคจฟรี) ในปัจจุบัน
  • ความท้าทายและอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดซึ่งทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่แบบใช้กรงไม่สามารถเปลี่ยนมาใช้ระบบแบบไม่ขังกรง (เคจฟรี) ได้
  • แนวทางที่รับรู้ว่าอาจทำได้เพื่อเอาชนะความท้าทายเหล่านี้
  • ระดับและประเภทของการสนับสนุนที่จำเป็นในการจัดตั้งหรือบำรุงรักษาฟาร์มเลี้ยงไก่แบบไม่ขังกรง (เคจฟรี)
  • ฝ่ายที่ควรเสนอการสนับสนุน

ผลการศึกษาวิจัยนี้แสดงให้เห็นประเด็นที่ชัดเจนเกี่ยวกับความจำเป็นในการปรับปรุงแนวทางปฏิบัติในฟาร์ม รวมทั้งความต้องการข้อมูลและการฝึกอบรมโดยผู้ผลิต ซึ่งมีข้อมูลบางส่วนแสดงอยู่ในแผนภูมิด้านล่าง แนวทางนี้รองรับการทำงานแบบเป็นโปรแกรมของโกลบอลฟู๊ดพาร์ทเนอร์ส (Global Food Partners) ที่เน้นการลงทุนในทรัพยากรสำคัญเพื่อสนับสนุนผู้ผลิต ในรูปแบบของการพัฒนาสื่อการฝึกอบรม ข้อมูล ทรัพยากร และการดำเนินการในฟาร์ม ตลอดจนงานให้คำปรึกษาเสมือนจริง 

โซลูชันสำหรับการดูแลรักษาฟาร์มเลี้ยงไก่แบบไม่ขังกรง (เคจฟรี)

การมีส่วนร่วมโดยตรงกับผู้ผลิตไข่ไก่เท่านั้นที่จะทำให้เราเข้าใจถึงความท้าทายและความต้องการของผู้ผลิตได้ดีที่สุด เราหวังว่าผลจากการสำรวจเชิงวิจัยนี้จะช่วยให้เกิดความยั่งยืนขึ้นในระยะยาว และสร้างความสามารถในการทำกำไรของอุตสาหกรรมไข่ไก่ในเอเชีย ในขณะที่ภูมิภาคนี้มีการนำระบบการผลิตไข่ไก่แบบไม่ขังกรง (เคจฟรี) มาใช้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

  

เว็บไซต์อื่น ๆ

Academy
Cage-free Hub
WelfareProgress

© Global Food Partners Inc.

thไทย