ปีนี้เป็นปีที่พิเศษจริงๆ แม้ปี 2020 จะนำมาซึ่งความท้าทายที่เราไม่คาดคิดและไม่เคยประสบมาก่อน แต่ก็ได้ทำให้ธุรกิจอาหารต่างยืนยันความมุ่งมั่นของตนเองที่จะทำแต่สิ่งดีงาม และหาวิธีเปลี่ยนความท้าทายเหล่านั้นให้เป็นโอกาสเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ห่วงโซ่อุปทานทั้งสาย เราได้เห็นการขยายตัวของการทำงานด้านการจัดหาอย่างผิดชอบและเพื่อความยั่งยืนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านอาหาร รวมทั้งความพยายามบรรลุเป้าหมายด้านสวัสดิภาพสัตว์ และขยายตลาดไข่เคจฟรี ในด้านนี้ เราได้เห็นการริเริ่ม ความร่วมมือ และความก้าวหน้าที่น่าชื่นชมอย่างยิ่ง โดยไล่จากทวีปเอเชียไปยังทวีปแอฟริกาเลยทีเดียว
ต่อไปนี้เราขอเล่าให้ฟังว่าอะไรที่น่าจะเป็นเทรนด์สามอันดับต้นด้านไข่ไก่ที่ได้มาจากการเลี้ยงไก่แบบไม่ขังกรง (เคจฟรี)
1. การให้ความสำคัญกับการปฏิบัติ การรายงาน และการทำงานใกล้ชิดกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากกว่าเดิม
ปัจจุบัน ธุรกิจอาหารหลายร้อยราย ไม่ว่าจะเป็นบริษัทท้องถิ่นหรือบริษัทชั้นนำข้ามชาติ ได้ให้คำมั่นแล้วที่จะจัดซื้อจัดหาไข่เคจฟรีทั้งหมดภายในปี 2025 และปีนี้ เราก็ได้เห็นว่ามีความสนใจด้านการปฏิบัติ การรายงานความก้าวหน้าและการทำงานเชิงนวัตกรรมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพิ่มมากขึ้น
- โกลบอลฟู้ดพาร์ทเนอร์ส (จีเอฟพี) และอิมแพค อัลลายแอนซ์ ได้เปิดตัวโครงการเครดิต ‘ไข่เคจฟรี’ เป็นครั้งแรกของโลก เพื่อช่วยให้ผู้ผลิตและธุรกิจอาหารได้บรรลุเป้าหมายความยั่งยืนที่กำหนดไว้ได้ รวมทั้งในพื้นที่ที่มีความท้าทายสูงเช่นเอเชีย ทั้งนี้ เกษตรกรยังได้รับการสนับสนุนโดยตรงจากโครงการอิมแพค อัลลายแอนซ์ เพื่อให้เปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเลี้ยงไก่ไข่แบบไม่ขังกรงได้ ทั้งในฟาร์มเองและการสนับสนุนทางเทคนิคและการฝึกอบรม ให้สามารถดำเนินตามแนวทางปฏิบัติที่ดีของการเลี้ยงไก่แบบเคจฟรีได้
- จีเอฟพีได้ประกาศเปิดตัวโครงการอบรมเกษตรกรด้านการบริหารจัดการฟาร์มไข่ไก่เคจฟรีทางออนไลน์ นอกจากนี้ บริษัทจะตั้งฟาร์ม “เคจฟรี” ตัวอย่างและศูนย์ฝึกอบรมในประเทศจีนและอินโดนีเซีย ภายในปลายปี 2021 ทั้งโครงการออนไลน์และในฟาร์มจะช่วยสนับสนุนให้อุตสาหกรรมดำเนินการเปลี่ยนผ่านไปยังการผลิตไข่เคจฟรีได้อย่างราบรื่น โครงการยังจะเป็นการนำผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องมาทำงานร่วมกันเพื่อให้ประสบความสำเร็จ ยั่งยืน และได้กำไรดีในระยะยาว
- องค์กรพิทักษ์สวัสดิภาพสัตว์ (คอมแพชชั่น อิน เวิรลด์ ฟาร์มมิง) ได้ออกรายงาน 2020 Egg Track ปีนี้ โดยระบุว่ามีบริษัทและผู้ผลิตหลายบริษัทได้จัดทำและรายงานความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมไข่ไก่ ว่ามีพอสมควร แม้จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของโควิด 19 ก็ตาม
- พันธมิตรความร่วมมือระดับโลกเพื่อสวัสดิภาพสัตว์ (โกลบอลโคอัลลิชั่น ฟอร์ แอนิมอลเวลแฟร์) หรือ จีซีเอดับเบิลยู GCAW) ซึ่งเป็นความริเริ่มที่นำโดยอุตสาหกรรมเป็นครั้งแรกของโลก เพื่อพิทักษ์สวัสดิภาพของสัตว์ทั้งโลก ได้ตีพิมพ์ความก้าวหน้าที่สมาชิกได้ดำเนินการตามนโยบายผลิตไข่เคจฟรีเป็นครั้งแรก
2. ผู้ผลิต รัฐบาล และอุตสาหกรรมที่มีส่วนได้ส่วนเสียหลักในการผลิตไข่เคจฟรี ได้ทำงานร่วมงานกันมากขึ้น
- จากความสำเร็จของฟาร์มตัวอย่าง บริษัท ซีพีฟู๊ดส์ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตไข่อันดับหนึ่งของประเทศไทย ได้ประกาศว่าจะเพิ่มการผลิตไข่เคจฟรีเป็นสองเท่า หรือ 10 ล้านฟองภายในปลายปีนี้
- กรมปศุสัตว์ ประเทศไทย ได้ว่าประกาศว่า จะนำมาตรฐานไข่ไก่เคจฟรีมาใช้ เพื่อรองรับความต้องการผลิตภัณฑ์ที่ดูแลสวัสดิภาพสัตว์ที่เพิ่มสูงขึ้นของผู้บริโภค
- บริษัท มานติเกียรา (Mantiqueira) แห่งประเทศบราซิล ซึ่งเป็นผู้ผลิตไข่ไก่ใหญ่ที่สุดของประเทศและของทวีปอเมริกาใต้ ได้ประกาศว่า จะไม่ลงทุนในระบบกรงตับอีกต่อไป และจะขยายการเลี้ยงแม่ไก่แบบเคจฟรีจาก 5 แสนตัวเป็น 2 ล้านตัว ภายในปี 2025
- สาธารณรัฐเช็คและสโลวาเกียประกาศว่าจะสั่งห้ามการใช้กรงตับเพื่อเลี้ยงไก่ภายในปี 2027
- จีเอฟพี และ VIV Qingdao ซึ่งเป็นผู้นำด้านการจัดนิทรรศการระดับนานาชาติ อาหารสัตว์สู่อาหารคน (Feed to Food) ได้ประกาศความร่วมมือเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมไข่ไก่ของประเทศจีน ให้เปลี่ยนไปสู่การผลิตแบบเคจฟรี ผ่านชุดกิจกรรมการอบรมเรียนรู้และฝึกหัด ที่รวมถึงการตีพิมพ์เอกสาร จัดประชุมผ่านอินเทอร์เน็ต การสัมมนา และอบรมเชิงปฎิบัติการสำหรับเกษตรกร
3. ผู้นำด้านอุตสาหกรรมการบริการและอาหาร ร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ที่จะเปลี่ยนไปใช้ไช่เคจฟรี ทั้งในทวีปเอเชียและละตินอเมริกา.
บรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่หลายบริษัทได้ขยายแนวคิดการผลิตไข่ไก่เคจฟรีมายังเอเชีย และธุรกิจเอเชียใหม่ ๆ ได้ประกาศตนว่าจะใช้ไข่ไก่เคจฟรี
- เมโทรกรุ๊ป ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้ ใช้การจัดซื้อจัดหาเฉพาะไข่ไก่แบบเคจฟรีในประเทศอินเดีย จีน และญี่ปุ่น ภายในปี 2027
- บริษัท เบอร์เกอร์คิง ได้ยืนยันว่าจะใช้ไข่เคจฟรีทั้งหมดในประเทศไทยและอินโดนีเซีย ภายในปี 2027
- กลุ่มอุตสาหกรรมการบริการที่ตั้งในเอเซีย ได้ประกาศใช้นโยบายไข่เคจฟรี รวมทั้งกลุ่มโรงแรมไมเนอร์ (2027) โรงแรมฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ (2025) กลุ่มแลงแฮมฮอสปิทัลลิตี (2025) และกลุ่มโรงแรมแมนดารินโอเรียนเต็ล (2025)
- Grupo Pão de Açúcar ผู้ค้าปลีกชั้นนำในบราซิล ได้ยืนยันว่าจะขายเฉพาะไข่เคจฟรี ภายในปี 2028
- โรงแรม เมเลีย อินเตอร์แนชั่นแนล ซึ่งเป็นโรงแรมชั้นนำของสเปน ที่มีกิจการทั่วเอเชียยืนยันว่าจะจัดหาเฉพาะไข่ไก่เคจฟรีเพื่อใช้ในโรงแรมทั่วโลก ภายในปี 2028
- ร้านอาหารแบนด์ระดับนานาชาติ (เบอร์เกอร์คิง, ทิม ฮอร์ตัน และป๊อปอายส์) กลายเป็นกลุ่มร้านอาหารขนาดใหญ่กลุ่มแรกที่ประกาศว่าจะใช้ไข่ไก่เคจฟรี
หนทางข้างหน้า
ตั้งแต่เราได้เห็นผู้คนใส่ใจเรื่องความรับผิดชอบ และห่วงโซ่อุปทานที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น เราก็ได้เห็นว่าแนวโน้มเหล่านี้จะทวีความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2021 เราขอคาดการณ์แนวโน้มสำหรับปีหน้าดังนี้
- ผู้มีบทบาทระดับท้องถิ่นและระดับนานาชาติในอุตสาหกรรมอาหารและการบริการจะประกาศการใช้ไข่ไก่เคจฟรีในห่วงโซ่การผลิต รวมทั้งในทวีปเอเชียมากขึ้น
- ผู้ผลิตไข่ไก่ในเอเซียขยายสายการผลิตของตนและจะมีผู้ผลิตรายใหม่ๆ เข้ามาในตลาดมากขึ้น เพื่อที่จะได้สนองอุปสงค์ไข่ไก่แบบเคจฟรีที่เพิ่มขึ้น และเพื่อสร้างความได้เปรียบ
- ธุรกิจจะเน้นการนำแนวคิดไปปฏิบัติ ในการทำงานเพื่อให้ทันเส้นตายที่กำหนดไว้ในปี 2025 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย
- ความร่วมมือระหว่างธุรกิจอาหารและผู้จัดหา/ผู้ผลิตไข่ไก่ และผู้เชี่ยวชาญการผลิตไข่ไก่เคจฟรี จะยิ่งแน่นแฟ้นต่อเนื่องยิ่งขึ้น เพื่อสนับสนุนให้ผู้ผลิตสามารถเปลี่ยนผ่านจากการเลี้ยงไก่แบบกรงตับ ไปสู่ระบบเลี้ยงในกรงขนาดใหญ่แบบเปิด
- แบรนด์ต่างๆ จะใช้วิธีเล่าเรื่องราวและบรรยายขั้นตอนเพื่อให้เห็นว่าบริษัทได้นำคำประกาศใช้ ไข่ไก่เคจฟรี มาปฏิบัติใช้เชิงรุกอย่างไร และได้ช่วยเหลือสัตว์และเกษตรกรอย่างไร
เราต้องการช่วยทุกคนให้บรรลุเป้าหมายของการเลี้ยงไก่ไข่แบบเคจฟรี ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ team@globalfoodpartners.com หรือนัดหมายเพื่อเข้ามารับคำปรึกษาฟรี
โกลบอลฟู้ด พาร์ตเนอร์ส เป็นบริษัทที่ปรึกษาสากลที่มีฐานอยู่ที่สิงคโปร์ ให้การสนับสนุนและคำแนะนำแก่ธุรกิจอาหารและผู้ผลิตเพื่อการจัดหาและผลิตไข่ไก่เคจฟรีที่ยั่งยืน ติดตามเราที่ LinkedIn or send us a message anytime.